วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ศาสนาอิสลาม

ศาสนาอิสลาม (อังกฤษIslam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632) ซึ่งสาวกมองว่าเป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม
มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า[1][2] มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัมโมเสส และพระ อ่านเพิ่มเติม  

หน้าที่ชาวพุทธ

หน้าที่หลักของชาวพุทธที่มีต่อพระศาสนา
ชาวพุทธมีหน้าที่หลักต่อการจรรโลงพระศาสนา 4 ประการ ดังนี้
1. การศึกษาในหลักธรรม ประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา
2. การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน ประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา
3. การเผยแพร่พระศาสนา
4. การป้องกันรักษาพระศาสนา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ชาวพุทธ
กิจกรรมที่พึงปฏิบัติตามหน้าที่ของชาวพุทธที่ดี มีดังนี้
1. การบรรพชาและอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
2. การบวชเป็นแม่ชี ธรรม อ่านเพิ่มเติม

พุทธสาวก

            พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่านจึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต กับนายภูษามาลา ชื่อว่า อุบาลี

          หลังจากบวชแล้ว ท่านได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานีบุตร ได้บรรลุโสดาปัตติผล และได้มารับหน้าที่ พุทธอุปัฏฐาก ปรนนิบัติพระพุทธเจ้า จนกระทั่งหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน จึงได้บรรลุพระอรหันตผล และท่านบรรลุพระอรหันตผลโดยไม่อยู่ในอริยบถ 4 คือ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นคือ ท่านบรรลุพระอรหันตผลภายหลังจากที่ได้ปฏิบัติธรรมทั้งคืนขณะที่จะเอนกายลงนอนบนเตียง พอยกเท้าพ้นจากพื้นแต่ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอน จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลา อ่านเพิ่มเติม

การบริหารจิตและเจริญภาวนา

 
            พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการ กระทำทุกอย่าง จะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน   การฝึกจิตหรือการบริหารจิต จึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา
              การบริหารจิต  หมายถึง  การฝึกฝนอบรมจิตให้เจริญและประณีตยิ่งขึ้น  มีความปลอดโปร่ง มีความหนักแน่นมั่นคง   โดยเริ่มจากการฝึกฝนจิตให้เกิดสติและฝึกสมาธิให้เกิดขึ้นในจิต

           ในการที่จะให้จิตมีสติได้นั้น ผู้ฝึกต้องมีวิธีการดังนี้คือ  การตั้งใจให้มีสติปสัมปชัญญะอยู่เสมอ การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วนและการมีใจน้อมไปในการมีสติคืออยากจะมีสติมั่นคง กล่าวคือ
           1.  การตั้งใจให้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ  คือ  ผู้ฝึกจะต้องตั้งใจกำหนดรู้สึกตัวอยู่ทุกขณะไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องใคร่ครวญทำช้าๆ อย่ารวดเร็วเกินไป เช่น ในขณะเดิน ยืน นั่ง นอน จะต้องพยายามให้ตัวสติระลึกอยู่ตลอดเวลาทุกๆ อิริยาบถ  และมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่เสมอ  เมื่อตั้งใจปฏิบัติตา อ่านเพิ่มเติม  

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (บาลีTipiṭakaสันสกฤตत्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ
  1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระวินัยสิกขาบทต่าง ๆ ของภิกษุและภิกษุณี
  2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระโคตมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ที่แสดงแกบุคคลต่างชั้นวรรณะและการศึกษา ต่างกรรมต่างวาระกัน มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง
  3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยพระอภิธรรมหรือ อ่านเพิ่มเติม   

พระรัตนตรัย

องค์ประกอบของพระรัตนตรัย
     ๑. พระสัมมาสัมพุทธ คือ พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วและได้เทศนาธรรมสั่งสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
     ๒. พระธรรม คือ คำสอน หรือ พระไตรปิฎก ประกอบด้วย
พระวินัยปิฎก หรือ ธรรมหมวดระเบียบวินัยของศาสนิก สิกขาบทต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภิกษุสงฆ์
พระสุตตันตปิฎก หรือ ธรรมหมวดพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าที่ตรัสแก่ภิกษุสงฆ์และบุคคลต่าง ๆ ตามวาระและโอกาส เป็นรูปคำสนทนาบ้าง คำบรรยายบ้าง และ
พระอภิธรรมปิฎก หรือ ธรรมหมวดวิธีปฏิบัติจิต ว่าด้วยหลักธรรมต่าง ๆ ที่อธิบายในแง่วิชาการล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือ เหตุการณ์ เป็นหลักธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง
    ๓. พระสงฆ์ หรือ สงฺฆ ในภาษาบาลี แปลว่า อ่านเพิ่มเติม 

หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา

หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
- ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
- ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
- ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
- ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)

 นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
- เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย
- สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
- สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจ อ่านเพิ่มเติม